สำนักงานสถิติแห่งชาติ เผยผลสำรวจสุขภาพจิตคนไทย พบเพศชายสุขภาพจิตดีกว่าหญิง ช่วงน้ำท่วมปี 54 หดหู่สุด ขณะที่ช่วงอายุ 40 - 59 ปี มีคะแนนสุขภาพจิตดีที่สุด... นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) กล่าวว่า ผลการสำรวจสุขภาพจิตคนไทย พบว่า ในปี 2555 คนไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป มีคะแนนสุขภาพจิตอยู่ที่ 33.59 คะแนน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับสุขภาพจิตของคนทั่วไป (27.01 - 34 คะแนน) และในจำนวนนี้เป็นผู้มีสุขภาพจิตต่ำกว่าคนทั่วไป 9.7% และผู้ที่สูงกว่าคนทั่วไป 37.6% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2551 - 2553 พบว่า ในช่วง 3 ปี คนไทยมีสุขภาพจิตโดยเฉลี่ยดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในช่วงปี 2554 ที่ประเทศไทยได้เกิดมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ทำให้สุขภาพจิตคนไทยในภาพรวมลดลง อย่างเห็นได้ชัด จากผลการสำรวจในปี 2555 หลังจากที่เหตุการณ์เข้าสู่สภาวะปกติ คนไทยก็มีสุขภาพจิตดีขึ้นและดีกว่าปี 2551-2553 ซึ่งเป็นปีที่เป็นสภาวะปกติ โดยมีคะแนนสุขภาพจิตสูงกว่า 4 ปีที่ผ่านมา ผอ.สสช. กล่าวต่อว่า เมื่อพิจารณาสุขภาพจิตของคนไทยตามเพศ พบว่า ในช่วง 5 ปี เพศชายจะมีความสุขมากกว่าเพศหญิง พบว่า ผู้ที่มีอายุ 40 - 59 ปี เป็นกลุ่มอายุที่มีคะแนนสุขภาพจิตดีที่สุด อาจเป็นเพราะกลุ่มนี้มีอาชีพ และฐานะทางการเงินที่มั่นคงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ สำหรับกลุ่มคนสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) เมื่อเทียบกับกลุ่มอายุอื่น ถึงแม้คะแนนสุขภาพจิตต่ำสุด แต่สุขภาพจิตของกลุ่มนี้ในรอบ 5 ปีก็ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อาจจะมาจากนโยบายรัฐบาลที่มีเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยจัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ ทำให้คนกลุ่มนี้รู้สึกว่าคุณภาพชีวิตดีขึ้นและมีความมั่นคงมากขึ้น นาย วิบูลย์ทัต กล่าวอีกว่า ในภาพรวมทั้ง 5 ปี พบว่า ผู้ที่สมรสมีสุขภาพจิตดีที่สุด รองลงมา คือ คนโสด ในขณะที่ผู้ที่ไม่ประสบความสำเร็จในชีวิตแต่งงาน (หย่า และแยกกันอยู่) มีระดับสุขภาพจิตต่ำที่สุด อย่างไรก็ตาม ระดับสุขภาพจิตของทุกสถานภาพสมรสมีแนวโน้มที่ดีขึ้น อีกทั้งพบว่า ระดับการศึกษาและสุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ไปในทางเดียวกันทั้ง 5 ปี นั่นคือ ผู้ที่มีระดับการศึกษาสูงกว่ามีความสุขมากกว่าผู้ที่ไม่มีการศึกษา/มีการ ศึกษาต่ำกว่าประถมศึกษา ภาพรวม พบว่า ผู้ที่มี/ได้รับสวัสดิการรักษาพยาบาลไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ หรือเอกชน จะมีสุขภาพจิตดีกว่าผู้ที่ไม่มี/ไม่ได้รับสวัสดิการรักษาพยาบาล ซึ่งอาจรู้สึกว่าได้รับความคุ้มครองปลอดภัย และมีหลักประกันในชีวิตเมื่อยามเจ็บป่วย ทำให้ลดความกังวลในเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ส่วนหนึ่ง รวมทั้งพบว่า ผู้ที่มี/ได้รับสวัสดิการมากกว่า 1 แหล่ง ส่วนใหญ่ มีสุขภาพจิตสูงกว่าผู้ที่มี/ได้รับสวัสดิการเพียงแหล่งเดียว และยังพบว่าคะแนนสุขภาพจิตของกลุ่มแรกจะมีสุขภาพจิตดีกว่าคนทั่วไป (คะแนนสูงกว่า 34) และมีข้อสังเกตว่า ผู้ที่ได้รับสวัสดิการจากราชการ/รัฐวิสาหกิจจะมีสุขภาพจิตสูงสุดและสูงกว่า มาตรฐานคนทั่วไป ขอขอบคุณข้อมูลจาก: http://www.thairath.co.th/content/tech/357084 ขอขอบคุณภาพประกอบจาก: www.jertsebe.com, www.healthcarethai.com, www.siamhealth.net |
เรื่องที่เกี่ยวข้อง | |||
ธรรมะ 4ประการ เพื่อสุขภาพจิตที่ดี ธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม คําสั่งสอน ในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า หลักประพฤติ ... |
เมื่อกล่าวถึงสุขภาพ ย่อมหมายถึง สุขภาพกายและสุขภาพจิตรวมกัน ผู้ที่มีสุขภาพจิตดี คือ ผู้ที่มีร่างกาย... |
||
กิจกรรมบำบัดส่งเสริมสุขภาพจิตใน ชุมชน เป้าหมายหลักของการส่งเสริม สุขภาพจิตแก่คนทุกเพศทุกวัยใน ... |
สุขภาพ (จิตกับสิ่งดีดี) ที่สุด ถ้าชีวิตของเราคนหนึ่งจะต้องการมีสุขภาพ ที่ดี ทั้งจิต กาย และใจ สำหรับเช้า วันอาทิตย์นี้ ... |
||
สุขภาพกายและสุขภาพจิตเป็นสิ่ง สำคัญและจำเป็นสำหรับทุกชีวิต การที่จะดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติ... |
องค์การอนามัยโลก ให้ความหมาย ของสุขภาพจิตที่ดี ดังนี้... |
||
สุขภาพจิต | เก็บมาเล่า กรมสุขภาพจิต | ||
T_358_3 แนวคิดเพื่อสุขภาพจิตที่ดี | ตอน สุขภาพจิตดี เริ่มที่บ้าน |