เพื่อความอยู่รอด มนุษย์จึงพยายามช่วยเหลือตนเองโดยใช้กลไกทางจิต ซึ่งทำงานอยู่ในระดับ
1. การเก็บกด (Repression) เป็นการลืมเฉพาะเรื่องที่กระทบกระเทือนจิตใจที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล เป็นการเก็บกดไว้ในระดับจิตไร้สำนึก (conscious) เช่นลืมว่าหมอนัดถอนฟันเพราะไม่อยากไปและกลัวหมอฟัน 2. การระงับ (suppression) เป็นกลไกระดับจิตสำนึก (conscious) คือตั้งใจพยายามข่มใจให้ลืมบางอย่างหรือไม่อยากจำ เช่น ถูกคนรักบอกเลิกเสียใจมากจึงพยายามลืมเขาให้ได้ 3. การเปลี่ยนให้เป็นที่ยอมรับ (sublimation) เป็นการเปลี่ยนความต้องการของตนให้เป็นที่ยอมรับของสังคม เช่น ชอบความรุนแรง ก้าวร้าวก็หันไปทำอาชีพชกมวย 4. การทดแทน (substitution) เป็นกลไกของจิตใจ นำมาใช้เพื่อให้ได้มาตามความต้องการ เช่น แม่อยากเป็นพยาบาล แต่สอบไม่ติด เลยปลูกฝังสั่งสอนลูกให้มาเรียนพยาบาลแทน 5. การหาเหตุผลมาอ้าง (rationalization) เป็นกลไกที่คิดหรือแสดงออกถึงเหตุผลต่างๆ เพื่อมาลบล้างความรู้สึกผิดหวังหรือไม่พอใจในพฤติกรรมต่างๆที่ตนทำไป เหมือนองุ่นเปรี้ยว 6. การโทษผู้อื่น (projection) โดยโยนความผิดไปให้ผู้อื่น โยนการกระทำที่ตนเองและสังคมยอมรับไม่ได้ไปให้ผู้อื่น เพื่อป้องกันตนเองให้พ้นผิด เข้าทำนอง “รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง” 7. การลงโทษตนเอง (introjection) เป็นการนำเอาความคิดและความรู้สึกที่ไม่ดีต่อคนอื่นเข้ามาไว้ในตัวเอง บุคคลอื่นนั้นมักเป็นบุคคลที่มีความสำคัญต่อตนเอง เช่น บิดามารดา คนรัก เพื่อนสนิท ถ้าโทษตนเองมากไปก็จะทำให้ซึมเศร้าได้ 8. การเลียนแบบ (identification) เป็นการนำเอาบุลลิกลักษณะ อารมณ์ แนวคิดของคนอื่นมาเป็นแบบอย่างสำหรับตนเอง ทำตัวตามแบบอย่างโดยตั้งใจหรือไม่ก็ได้ เช่น ทำตัวตามดาราที่ชื่นชอบ 9. การเปลี่ยนแปลงทิศทางหรือเป้าหมาย (displacement) เกิดขึ้นเนื่องจากบุคคลที่ตนเองไม่พอใจ หรือโกรธแค้น อาจจะต่อว่า โต้ตอบ แต่ถ้าทำไปจะเป็นผลเสียต่อตนเอง จึงเปลี่ยนเป้าหมายไปทำอย่างอื่นแทน เช่น โกรธแม่ที่บ่นใส่ตน เลยไปตีสุนัขที่แม่รักแทน 10. การปฏิเสธความจริง (denial) โดยการไม่ยอมรับรู้อารมณ์ ความคิด พฤติกรรมต่างๆที่ทำให้ตนเสียใจโดยปฏิเสธว่าไม่จริง เช่น นาง ก บอกใครหนึ่งคนว่าสามีเธอที่เป็นทหารยังไม่ตายทั้งๆที่มีทางราชการแจ้งข่าว ว่าสามีเธอตายแล้ว 11. การทำตรงกันข้าม (reaction formation) พฤติกรรมที่แสดงออกมาจะตรงข้ามกับตัวตนที่แท้จริง ความรู้สึกที่แท้จริง ความรู้สึกที่แท้จริงถูกกดเก็บอยู่ในจิตไร้สำนึก เพราะสังคมไม่ยอมรับเข้าทำนองหน้าเนื้อใจเสือ เช่น นาย ข ปกติเป็นคนนอบน้อม สุภาพ แต่เวลาโกรธหรือเมากลับเป็นคนก้าวร้าว พูดคำหยาบ ด่าทอผู้คนเสียหาย 12. การแสดงว่าไม่เคยทำผิด (undoing) เพื่อให้ทุกคนเห็นว่าตนเองไม่เคยทำผิด เพื่อล้างบาปหรือลบล้างความผิดที่เคยทำไว้ในอดีต เช่น นาย ค เคยเป็นนักเลงโต แต่ปัจจุบันกลายเป็นคนชอบทำบุญทาน ช่วยงานกุศล 13. การชดเชย (compensation) เป็นการสร้างความเด่น ความเก่งกล้าสามารถด้านอื่นมาชดเชยข้อบกพร่อง เช่น คนไม่สวยแต่อัธยาศัยดี มีน้ำใจ 14. การแสดงพฤติกรรมถอยหลัง (regression) เกิดจากความคับข้องใจ ไม่สบายใจ ผิดหวัง หรืออิจฉา เช่น เด็ก 4 ขวบที่แข็งแรงกินเก่งเลือกกิน แต่พอแม่คลอดน้องก็ไม่ยอมกินแย่งขวดนมน้อง 15. การถอยหนี (withdrawal) เป็นการลดความกล้า ความวิตกกังกล ความเครียด ด้วยการหลบหนีหรือหลบเลี่ยงจากบุคคล สถานการณ์ หรือสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดความรู้สึกเหล่านั้น 16. การฝันกลางวันหรือเพ้อเจ้อ (day dream or famtacy) ถูกใช้เพื่อสนองความต้องการที่ตนเองไม่สามารถทำได้ในชีวิตจริง หรือมีโอกาสน้อยมาก เช่น คนจนที่ชอบซื้อลอตเตอรี่ และคิดฝันอยู่เสมอว่าถ้าถูกลอตเตอรี่ รางวัลที่ 1 จะเอาเงินไปทำอะไรบ้าง 17. การมีบุคลิกภาพแตกแยก (dissociation) พบในคนที่ไม่พอใจในบุคลิกภาพของตนเอง จะเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของตนขึ้นมาใหม่ทันที อาจเปลี่ยนไปบางส่วนหรือทั้งหมด บางคนอาจเข้าใจผิดว่าภาวะนี้คือ ผีเข้า เช่น A เป็นคนขี้ตกใจ เวลาวิตกกังกลหรือคิดมากเธอจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นเรื่องเป็น ครั้งคราว บางครั้งก็แสดงตัวเหมือนถูกผีเข้า พูดเสียงดังท่าทางก้าวร้าว สักครู่ก็หายไป 18. การแสดงความพิการทางร่างกาย (conversion) เป็นกลไกของจิตที่เกิดมีความผิดปกติของร่างกายขึ้นมาเพื่อลดความวิตกกังกล ความเศร้าเสียใจ อาการผิดปกติมักเป็นขึ้นมาทันทีทันใดโดยไม่รู้ตัว เช่น B ร้องกรี๊ดแล้วเป็นลมแน่นิ่งไปพักใหญ่ เมื่อทราบข่าวว่าสามีของเธอไปมีเมียน้อย โดยปกติ B เป็นคนอ่อนหวาน น่ารัก เอาใจใส่ ปรนนิบัติสามีเป็นอย่างดี ขอขอบคุณข้อมูลจาก: http://www.bcnpy.ac.th/wiki/index.php/ ขอขอบคุณภาพประกอบจาก: www.blog.eduzones.com, www.variety.thaiza.com, www.trueplookpanya.com |
เรื่องที่เกี่ยวข้อง | |||
กรมสุขภาพจิตเผยคนไทย 3 ล้านเป็น กรมสุขภาพจิตเผยคนไทยป่วยโรคซึมเศร้า 3 ล้านคน แต่มาหาหมอไม่ถึงแสน ... |
การบริหารจิต หมายถึง การฝึกฝน อบรมจิตให้เจริญและประณีตยิ่งขึ้น มีความปลอดโปร่ง มีความหนักแน่น ... |
||
เมื่อเครียด กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของ ร่างกายจะหดเกร็งและจิตใจจะวุ่นวาย สับสน ดังนั้น เทคนิคการผ่อนคลาย ... |
โลกปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็ว ความเป็นอยู่ของคนในสังคม ... |
||
เคยไหม เครียดโดยไม่รู้ตัว เครียดสะสม จนทำลายชีวิต เสียที่งสุขภาพร่างการ และสุขภาพจิต ทำให้คุณหมดหวัง ... |
ความไม่สบายต่าง ๆ ของมนุษย์นอก จากจะมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย แล้ว จิตใจของเรายังเป็นหนึ่งของ ... |
||
|
|||
|
|
||
|
|