เมื่อตอนปลายปีที่แล้ว ผู้เขียนบังเอิญได้ไปเจอสารคดีจากประเทศจีนอยู่เรื่องหนึ่ง ขณะที่กำลังเปิดหาดูเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารบน YouTube ถึงแม้จะพากย์เป็นภาษาจีน แต่โชคดีที่มีคนบนเน็ตทำ subtitle ภาษาอังกฤษไว้ให้ด้วย ทำให้ผู้เขียนสามารถพอเข้าใจเรื่องราวได้ The Story of the Staple Food บอกเล่าเรื่องราวของอาหารจานหลักของคนจีน ถ้าถามคนไทยก็คงมีไม่น้อยที่คิดว่าเป็นข้าวสวยที่มักจะเห็นใส่ถ้วยเล็กๆ ในหนังจีน แต่ในประเทศจีนนั้น ถึงแม้ว่าข้าวสวยจะยังคงเป็นอาหารหลักของคนจำนวนมาก แต่ก็มีผู้คนมากมายในหลายบริเวณของจีน
เรื่องราวของอาหารจานหลักของคนจีน เรื่องราวเริ่มขึ้นที่หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งชื่อ Ding ในมณฑลซานซี (Shanxi ) ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่ที่สุดในเขตที่ราบลุ่มของจีน แม่บ้านที่นี่ยังคงทำอาหารจากแป้งที่ได้จากการโม่ธัญพืชเช่นในอดีต แต่ด้วยความคิดสร้างสรรค์และความรู้ที่ตกทอดมาอย่างยาวนาน ทำให้เกิดรูปแบบของอาหารจากแป้งที่มากมายจนน่าตื่นตะลึง จากนั้นผู้ถ่ายทำก็นำเราไปยังเมืองซุ่ย (Suide) ในชานซี (Shanxi) เพื่อไปดูคุณลุงคนหนึ่งที่เชี่ยวชาญการทำซาลาเปาสีเหลือง ซึ่งทำมาจากธัญพืช ประเภทข้าวฟ่าง (millet) ชนิดหนึ่ง ซึ่งเคยเป็นอาหารหลักของคนในชานซีตอนเหนือ แต่ตอนนี้กลับถูกแทนที่ด้วยข้าวสาลีและธัญพืชชนิดอื่นแทน ข้าวเจ้านั้นเป็นธัญพืชที่ปลูกมากที่สุดในเขตตอนล่างของแม่น้ำแยงซีเกียง แต่ในเขตตอนบนนั้นต้องยกให้ข้าวสาลี ซึ่งมีประวัติการเพาะปลูกในจีนมาถึง 4,000 ปี และเป็นหนึ่งในอาหารหลักที่สำคัญที่สุดของจีน ที่สามารถนำไปใช้ได้หลากหลาย เช่น ขนมปังปิ้ง Naan ซึ่งเป็นอาหารที่ขาดไม่ได้ของชาวอุยกูร์ (Uyghur ) ในเขตปกครองตนเองซินเจียง แต่อาหารจากแป้งสาลีที่มีคนบริโภคมากที่สุด ต้องยกให้กับซาลาเปา ซึ่งเป็นอาหารที่แพร่หลายที่สุดในเขตตอนกลางของประเทศ
เหยียดทุกวัน ซึ่งขนมปังปิ้งนี้ยังสามารถนำไปประกอบอาหารอย่างอื่นได้อีกด้วย ที่เป็นที่นิยมที่สุดเห็นจะเป็นการบิขนมปังให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วต้มกินกับน้ำซุปแทนเส้น อาหารจากแป้งสาลีที่เป็นที่นิยมอีกอย่างก็คงไม่พ้นเส้นหมี่ ซึ่งก็มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ เช่น คนอิสลามในเมืองหลานโจวของมณฑลกานซูนั้น ชอบที่จะทานเส้นหมี่แบบกลมยาวในซุปเนื้อตุ๋นเป็นอาหารเช้า ในขณะที่คนกวางตุ้งจะทำเส้นที่เล็กกว่า และมักจะใช้วิธีหั่นให้เป็นเส้นแทนที่จะใช้มือดึงแบบทางเหนือ ข้าวเจ้านั้นก็ไม่น้อยหน้าในด้านของความหลากหลาย อย่างคนในมณฑลกุ้ยโจว (Guizhou) นั้นชอบกินก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ใส่ในซุปที่เผ็ดจัดจ้าน ส่วนคนกวางตุ้งนั้นจะทำเส้นให้บางกว่าและมักจะนำเส้นก๋วยเตี๋ยวไปผัดในกระทะ แทนที่จะกินกับน้ำซุป ในเมืองซีซาน (Qishan) ที่อยู่ไม่ไกลจากเมืองซีอานนั้น ผู้คนที่นี่ชอบทานก๋วยเตี๋ยวในงานเลี้ยงวันเกิด ซึ่งก๋วยเตี๋ยวที่นี่จะทำใส่ในซุปที่จัดจ้าน และตามธรรมเนียมของคนที่นี่นั้น พวกเขาจะกินแต่เส้นโดยไม่ดื่มน้ำซุปเลย ในบ้านเรานั้นจะกินบะจ่างเฉพาะในเทศกาล แต่สำหรับคนเชียซิน (Jiaxing) ในมณฑลเจ้อเจียงนั้น เขากินบะจ่างเป็นอาหารเช้า ทำให้ต้องมีโรงงานทำบะจ่างขนาดใหญ่ เพื่อทีจะผลิตบะจ่างออกมาวันละไม่ต่ำกว่า 1 ล้านชิ้น คนงานบางคนที่นีสามารถห่อบะจ่างได้อย่างรวดเร็วเกือบ 10 ชิ้นต่อนาทีเลยทีเดียว ส่วนคนหนิงโบ (Ningbo) นั้นมักทำขนมข้าว ในช่วงที่ข้าวกำลังสุกได้ที่ ซึ่งขนมข้าวนี้สามารถนำไปใส่อาหารได้หลากหลาย ไม่ต่างกับก้อนข้าวสวยหรือหมั่นโถว นอกจากนั้นขนมข้าวนี้ยังเก็บไว้กินได้เป็นเวลานาน
เรื่องราวครั้งนี้จบด้วยเรื่องของช่างภาพชาวซานซีผู้หนึ่ง ซึ่งพ่อแม่ของเขาได้เดินทางมาฉลองวันปีใหม่ที่บ้านของเขาในกรุงปักกิ่ง ด้วยอาหารเส้นหมี่และเกี๊ยวน้ำไส้ผัก ฝีมือของพ่อแม่ที่เขากินมาตั้งแต่เด็ก เป็นการแสดงให้เห็นว่าแม้แต่คนรุ่นใหม่ก็ยังคงชื่นชอบในอาหารหลักของบ้านเกิดอยู่เสมอ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: http://www.oknation.net/blog/krasean/2013/01/20/entry-1 ขอขอบคุณภาพประกอบจาก: www.oknation.net,muslimchiangmai.net |
อาหารจีนหูหนาน | ร้านอาหารที่ห่วยสุดใน CTW | ||
Morning breakfast bread | มารยาทรับประทานอาหารแบบโต๊ะจีน |